วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์ .................. คืออะไร

สุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความงามทั่งตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น
ประโยชน์ของสุนทรียศาสตร์...........
1. ทำให้คนมีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี มองอย่างมีเหตุผล
2. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงาม ทั่งเป็นรูปธรรมและนามธรรม
3. ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล
4. สร้างเสริมประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อดำรงอย่างสันติสุข
5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และสามารถบูรณาการเพื่อประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตผล และความรู้สึกที่สอดคล้องกัน

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรต่อวิชาชีพพยาบาล
สุนทรียศาสตร์เป็นศาสตร์ที่พูดถึงเรื่องความงาม ในวิชาชีพพยาบาล.......งามในที่นี้หมายถึงความงามทั่งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้มีความรู้สึกไม่แข็งกระด้างมีความสุขในการทำงาน มีความรู้สึกที่สมเหตุสมผล สามารถสร้างความสมดุลย์ทั่งตัวพยาบาลเองและตัวผู้ป่วย
ดังนั้น สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพ เพราะทำให้พยาบาลมีจิตใจงาม มีความคิดสมเหตุสมผล เมื่อผู้ป่วยมารับการรักษา พยาบาลจะคิดว่าผู้ป่วยเป็นผู้ที่กำลังเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือ พยาบาลก็จะให้การพยาบาลด้วยความเต็มใจเปรียบเสมือนญาติ เห็นอกเห็นใจ
.........................ความงามอย่างพยาบาล...............................

กล้วยไม้

กล้วยไม้ดูดี........คนก็ดูเด่นนะ

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ความงาม


วรรณกรรม

วรรณกรรม (Literature) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจ ระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่
1. ภาษาพูด โดยการใช้เสียง2. ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ 3. ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น
คลิ๊กที่รูป เพื่อดูภาพใหญ่
ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษา ขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ สวยงามได้ ชาติไทย เป็นชาติที่มีอารยะธรรมเก่าแก่ มี ภาษที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน นอกจากนี้ ยังมี ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษาได้อย่างไพเราะ ถือเป็นความงามของการใช้ภาษา จากการแต่งโคลง กลอน คำประพันธ์ ร้อยแก้วต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำ ราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทาง การใช้ภาษาที่ควรดำรง และยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)
วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ1. ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ2. ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความ งานมของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย